ในปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนคงรู้จักอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่าง SSD กันบ้างแล้ว โดย SSD นั้นมีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ (HDD) และกำลังได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า SSD คืออะไร? มีกี่ประเภท ทำหน้าที่ยังไง ต่างจาก HDD ยังไง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ชื่อว่า SSD กันว่าทำไมในยุคนี้ใครๆ ก็เลือกใช้กัน
SSD คืออะไร? และต่างกับ HDD อย่างไร
SSD นั้นมีที่มาจากคำว่า Solid State Drive ทำหน้าที่เป็นที่เก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งคล้ายกับ HDD ด้วยการใช้หน่วยความจำแบบ Flash Memory Chips โดยแตกต่างกับ HDD ที่เป็นจานแม่เหล็ก ดังนั้น SSD จึงมีความเร็วและเสถียรมากกว่า HDD นอกจากนี้ SSD ยังมีความเร็วและคงทนต่อการกระแทกมากกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จานหมุน อีกทั้ง SSD ที่มีขนาดเล็กกว่าฮาร์ดดิสก์ทำให้กินไฟน้อยกว่า เมื่อนำไปประกอบกับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คและลง Windows จะช่วยลดเวลาในการเปิดคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น รวมถึงประหยัดพื้นที่ภายในตัวเครื่องอีกด้วย
SSD มีกี่ประเภท
SSD นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
-
SATA SSD
SATA SSD คือ SSD ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพอร์ตแบบ SATA โดยรูปทรงของ SSD SATA นั้นจะมีรูปร่างที่คล้ายกับ HDD ที่มีขนาดประมาณ 2.5 - 3.5 นิ้ว เนื่องจาก SSD ประเภทนี้ได้ถูกออกแบบมาให้ใส่เข้ากับช่องของฮาร์ดดิสก์ได้นั่นเอง นอกจากนี้ SSD SATA ยังมีความเร็วในการอ่านและเขียนอยู่ที่ 600 Mbps เลยทีเดียว
-
SSD M.2
SSD M.2 ถือเป็น SSD ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็น SSD ที่มีขนาดเล็ก เพราะยึดเต็มกับเมนบอร์ดจึงทำให้ประหยัดพื้นที่ภายในเครื่องได้มากกว่า SSD ประเภทอื่นๆ อีกทั้ง SSD M.2 ยังมีความเร็วสูงถึงประมาณ 3,500 Mbps เลยทีเดียว นอกจากนี้ SSD M.2 ยังมีการแยกย่อยออกเป็น M.2 SATA และ NVMe ซึ่งมีการส่งข้อมูลแบบอินเตอร์เฟตที่แตกต่างกันไป โดย NVMe จะมีการรับส่งข้อมูลรวดเร็วกว่าแบบ SATA
-
PCIe SSD
PCIe SSD คือ SSD ที่ใช้พอร์ตเชื่อมต่อผ่าน PCIe หรือหากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือการเชื่อมต่อที่เสียบเข้ากับการ์ดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่ง PCIe SSD มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้ SSD ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไรนั่นเอง
วิธีเลือกซื้อ SSD
-
พอร์ตเชื่อมต่อ
สิ่งแรกที่ต้องดูสำหรับการเลือกซื้อ SSD ก็คือ พอร์ตของ SSD ที่จะใช้ เนื่องจากเมนบอร์ดรุ่นใหม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตได้ทั้ง 2 แบบ ทั้งแบบ NVMe หรือ PCIe หรือจะใช้สายเชื่อมต่อพอร์ตแบบ SATA ก็ได้เช่นกัน แต่หากเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะเชื่อมต่อพอร์ตแบบ M.2 หรือ SATA ได้หรือไม่ ก็ต้องไปทำความรู้จักกับพอร์ตกันซะก่อน
-
PCIe NVMe M.2 เป็นพอร์ตที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมีความเร็วในการอ่านเขียนสูงถึง 5,000 MB/s ใน PCIe 4.0 หรืออ่านขั้นต่ำอย่างน้อย 1,500 - 3,000 MB/s การอ่านค่าด้วยความเร็วระดับนี้ก็เพียงพอที่จะทำให้การเกิดโปรแกรมหรือเปิดเครื่องเร็วมากขึ้นแล้ว โดยเมนบอร์ดในปัจจุบันก็รับรองพอร์ตเชื่อมต่อแบบ PCIe NVMe M.2 แล้วทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊ค หากใครที่กำลังจัดสเปกคอมใหม่อยู่ แนะนำเลยว่าให้เลือกพอร์ตเชื่อมต่อ PCIe NVMe M.2 รับรองคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายอย่างแน่นอน
-
SATA M.2 มีรูปทรงหน้าตาคล้ายกับพอร์ตแบบ PCIe NVMe แต่จะแตกต่างกันก็ตรงที่ขาสล็อตและชิปควบคุม โดยพอร์ตของ SSD ตัวนี้จะมีการอ่านเขียนที่ช้ากว่า PCIe ประมาณ 500 MB/s แต่ก็ยังอยู่บนมาตรฐาน SATA เช่นเดียวกับแบบต่อสาย
-
SATA III 2.5 นิ้ว เป็นพอร์ตที่เชื่อมต่อด้วยการใช้สายแบบเดียวกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นตัวที่เมนบอร์ดของทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คนั้นรองรับ เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องเอาไว้ต่อสาย SATA นับเป็นพอร์ตเชื่อมต่อที่รองรับทั้งคอมรุ่นใหม่ รุ่นเก่า รวมถึงโน๊ตบุ๊คก็สามารถใช้ได้ทั้งคู่เลยทีเดียว
แต่การจะเลือกพอร์ตเชื่อมต่อแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดของคุณว่าเป็นแบบใด จะได้เลือกใช้พอร์ตเชื่อมต่อให้เหมาะสมและไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น เพียงแต่อาจจะต้องนำสเปกคอมพิวเตอร์ของคุณไปหาข้อมูลว่ารองรับกับพอร์ตเชื่อมต่อแบบไหนที่เว็บไซต์ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนผู้จำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อได้ของตรงตามความต้องการและไม่เสียเวลา
-
งบประมาณ
หลังจากที่รู้แล้วว่าต้องการสายพอร์ตเชื่อมต่อแบบไหนที่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ของเรา ก็มาดูกันต่อที่เรื่องของงบประมาณ เพราะในส่วนนี้ค่าใช้จ่ายจะบานปลายหรือประหยัดขึ้นอยู่กับความเร็วและความจุของตัว SSD ที่ต้องการเลือกใช้ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลนั่นเอง
-
ความจุ
ใครที่มีงบเหลือและไม่ได้สนใจว่าจะต้องเลือกซื้อ SSD ในราคาเท่าไร แต่มองเรื่องของความจำเป็นและตอบโจทย์กับการใช้งานที่เราต้องการ เราก็มีความจุมาแนะนำให้กับผู้ใช้ทุกคนได้เลือกซื้อ ดังนี้
-
128GB เป็นความจุที่ต่ำที่สุดและราคาถูกที่สุดของ SSD ซึ่งเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เน้นการใช้งานเอกสาร รวมถึงโปรแกรมทั่วไปที่ไม่ได้ใช้งานหนักมาก โดย SSD 128GB นี้ เหมาะกับการซื้อไปเพื่ออัปเกรดคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ หรือคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดดิสก์สำรองเอาไว้อยู่แล้ว
-
256GB มาที่ความจุลำดับต่อมา ที่มีความเหมาะสมทั้งการใช้งานและลงโปรแกรมต่างๆ เพียงแต่ต้องเป็นโปรแกรมที่ไม่ได้มีความจุที่หนักมาก โดยข้อดีของ SSD 256GB นี้คือเหมาะกับการใช้ร่วมกับฮาร์ดดิสก์จะดีที่สุด เพราะหากใช้เพียงแค่ SSD ลูกเดียวจะไม่สามารถรองรับการใช้งานที่ครอบคลุมได้
-
512GB เป็น SSD ที่ทางเราแนะนำสำหรับใครที่ต้องการใช้ SSD เนื่องจากมีความจุที่กำลังพอดีและมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ว่าจะเป็นการลงโปรแกรมหนักๆ หรือลงเกมที่มีสเปกสูงก็สามารถทำได้ทั้งคู่ หรือจะเป็นงานตัดต่อก็ยังมีพื้นที่เหลือเพียงพอที่จะเก็บไฟล์งาน เรียกได้ว่าลูกเดียวจบ ไม่ต้องมีฮาร์ดดิสก์เลยก็ว่าได้
-
1TB SSD ลูกเดียวจบ ตอบโจทย์ทั้งสายเกมเมอร์ กราฟิก ตัดต่อ รวมถึงการทำงานทั่วไป โดยไม่ต้องห่วงเรื่องของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือไฟล์ต่างๆ เหมาะกับคนที่มีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บเยอะ แต่ไม่อยากจัดเก็บข้อมูลหลายที่นั่นเอง
ฟังก์ชันอื่นๆ
SSD ในปัจจุบันนอกจากจะมีความจุ ความเร็วและราคาที่หลากหลายแล้ว SSD ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ เสริมเพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อ SSD ของผู้บริโภค
- RGB ไฟ RGB ที่เสริมเข้ามาของ SSD เอาใจสายชอบแต่ง ชอบไฟที่ไม่เหมือนใคร เพราะสามารถปรับแต่งได้ แต่ SSD ที่มีไฟ RGB จะไม่สามารถใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊คได้ เนื่องจากตัว SSD มีความหนากว่าปกติ รวมถึงมีราคาสูงอีกด้วย
- ระบบระบายความร้อน ใน SSD ปัจจุบันมีการเสริมฟังก์ชันระบายความร้อนเพิ่มเติมเข้ามาด้วย เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน SSD เป็นเวลานาน ทั้งการเรนเดอร์งาน โหลดไฟล์ทิ้งไว้ เพราะ SSD จะมีฮีตซิงก์ช่วยในการระบายความร้อนให้กับตัว SSD และช่วยให้ความเร็วในการอ่านเขียนไม่ตกลง ซึ่ง SSD ประเภทนี้สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
- ประกัน การรับประกันสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทุกคนต้องการ และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเสมอสำหรับคนที่ต้องการซื้อสินค้า เพราะหาก SSD มีปัญหาขึ้นมาอย่างน้อยก็มีความอุ่นใจที่สามารถเคลมอุปกรณ์ได้ ถึงแม้จะมีราคาสูงขึ้นมาอีกนิดแต่ก็คุ้มค่าที่จะจ่ายอยู่ดี ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการับประกันสินค้าและบริการของแบรนด์ที่จะซื้อด้วย เมื่อเกิดปัญหาหรือต้องการเคลมจะได้ไม่เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
SSD ที่เราแนะนำ ตอบโจทย์ทั้งสายเกมเมอร์ สายตัดต่อ สายกราฟิกหรือทำงานทั่วไป ทั้ง SSD แบบ M.2 PCIe NVMe และ SSD แบบ SATA
SSD PCIe NVMe M.2
-สำหรับคอมพิวเตอร์-และโน๊ตบุ๊ค-ราคาโปรโมชัน--BaNANA-Online_1.jpg)
-
ACER SSD FA100 256GB M.2 NVMe R1950MB/s W1300MB/s
การ์ด SSD ที่มีความเร็วที่ขับเคลื่อนด้วย 3D NAND คุณภาพสูง ทรงพลังจาก ACER FA100 NVMe ประมวลผลการอ่านเขียนด้วยความเร็วสูงถึง 3,300 MB/s ในราคาเพียง 950 บาท รับประกันสินค้านานถึง 5 ปี
-
Addlink SSD S95 1TB M.2 PCIe R7000MB/s W5000MB/s
SSD ขนาด 1TB ที่จัดเต็มด้วยแอปพลิเคชันระดับ Extreme เพื่อให้สัมผัสความเร็วในการอ่านที่รวดเร็วสูงถึง 7,000 MB/s และความเร็วในการเขียนถึง 5,000 MB/s และ 4K Random Read/Write 700K IOPS ซึ่งเร็วกว่า SSD แบบ SATA III ถึง 14 เท่า เพื่อผลิตคอนเทนต์คุณภาพ เช่น การผลิตเสียง / วิดีโอระดับ 4K การเล่นเกม และการใช้งานระดับองค์กร นอกจากนี้ยังเลือกใช้ชิปหน่วยความจำในการขับเคลื่อนแบบ 3D NAND อีกด้วย มาในราคา 8,890 บาท รับประกันสินค้านานถึง 5 ปี
SSD SATA
-สำหรับคอมพิวเตอร์-และโน๊ตบุ๊ค-ราคาโปรโมชัน--BaNANA-Online_2.jpg)
-
SSD Samsung SSD 860 PRO 1TB SATA III R560MB/s W530MB/s
SSD ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพระดับพรีเมียม 860 PRO ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง V-NAND และระบบคอนโทรเลอร์ที่ควบคุมด้วยอัลกอริทึมที่แข็งแกร่ง รองรับทุกสภาพการใช้งานทั้งหนัก เบา สายเกมเมอร์ โปรแกรมเมอร์ และสายตัดต่อ มาในราคา 9,990 บาท รับประกันสินค้านานถึง 5 ปี
-
SSD ZADAK SSD TWSS3 512GB SATA III R560MB/s W540MB/s
SSD SATA ขนาด 512 GB ที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม ทนทานต่อการใช้งานนานถึง 1,500,000 ชั่วโมง มาพร้อมดีไซน์สวยงามในราคา 2,680 รับประกันนานถึง 5 ปี
ทั้งหมดนี้คือคำตอบที่ว่า SSD คืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไรกับคอมพิวเตอร์ รวมถึง SSD ในปัจจุบันนั้นมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร เราได้รวบรวมมาให้ชาวไอทีที่ต้องการเลือกซื้อ SSD ได้ทำความเข้าใจกันแล้ว หวังว่าจะช่วยให้การจัดสเปกคอม หรือการตัดสินใจเลือกซื้อ SSD มาใช้ ตรงตามความต้องการและความเหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าหรือโน๊ตบุ๊ค หากต้องการที่จะจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้ SSD ก็สามารถเลือกใช้ SSD External ได้เช่นกัน เพราะมีความจุเทียบเท่า SSD ที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แต่พกพาสะดวกสบายมากกว่านั่นเอง และหากอยากดู SSD ทั้ง M.2 SATA หรือ External เพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ ซื้อ SSD (เอสเอสดี) สำหรับคอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊ค ราคาโปรโมชันที่ BaNANA Online